วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ความหมายของบุคลิกภาพ

ความหมายของบุคลิกภาพ

      บุคลิกภาพ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ “Persona” ซึ่งแปลว่า หน้ากาก เพราะการแสดงละครตามบทต่างๆ ของชาวกรีกโบราณ จะใช้หน้ากากสวมให้เหมาะสมกับตัวละคร สำหรับความหมายของบุคลอกภาพ มีผู้ให้ความหมายหลายท่าน ทั้งนักการศึกษาไทยและต่างประเทศ นักการศึกษาไทย เช่น 
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพเป็นลักษณะท่าทางที่แสดงออกของแต่ละบุคคล รวมทั้งการใช้ภาษาหรือคำพูด เช่น การเจรจาโต้ตอบ การแสดงความคิดเห็น การใช้อากัปกิริยาแทนคำพูด
ประดินันท์ อุปรมัย กล่าวว่า หมายถึง ลักษณะโครงสร้างร่างกายและพฤติกรรมต่างๆของบุคคลที่ปรากฏให้เห็นได้ และลักษณะหรือจัดระบบภายในตัวบุคคล ซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะและพฤติกรรมที่ปรากฏนั้น
ลักขณา สริวัฒน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ลักษณะเฉพาะของเอกัตบุคคล ซึ่งไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา ลักษณะท่าทาง หรือลักษณะภายใน เช่น สติปัญญา ความคิด หรืออุปนิสัยใจคอ
สายสุรี จุติกุล ให้ความหมายเป็น 2 นัย ความหมายแรก คือ ส่วนต่างๆของบุคคลที่รวมกันแล้วทำให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ส่วนต่างๆ เหล่านั้น ได้แก่ อุปนิสัย (Character) นิสัยใจคอ (Temperament) ความสนใจ (Interest) ทัศนคติ (Attitude) วิธีการปรับตัว (Adjustment) และโครงสร้างทางร่างกาย (Physical Constitution) ซึ่งส่วนต่างๆเหล่านี้จัดเป็นลักษณะ (Characteristic) ที่สำคัญของแต่ละบุคคล และความหมายอีกประการหนึ่งของบุคลิกภาพ คือ ตัวเราทั้งตัวหรืออัตตะ (Self) ที่แสดงพฤติกรรมต่างๆลักษณะโครงสร้างร่างกายและพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลที่ปรากฏให้เห็นได้ และลักษณะหรือจัดระบบภายในตัวบุคคลซึ่งมีอิทธิพลต่อลักษณะและพฤติกรรมที่ปรากฏนั้น
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมาย ไว้ว่า หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนที่ทำให้เรามีความแตกต่างจากคนอื่น สำหรับนักจิตวิทยาชาวต่างประเทศที่ให้ความหมายของบุคลิกภาพ


ทฤษฎีบุคลิกภาพ

1. ทฤษฎีของซิกมันฟรอยด์http://plabooza.blogspot.com/2016/01/sigmund-freud.html


2. ทฤษฎีพัฒนาการของอีริคสันhttp://plabooza.blogspot.com/2016/01/psychological-theory.html


3. ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของซัลลิแวนhttp://plabooza.blogspot.com/2016/01/blog-post_28.html


4. ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง http://plabooza.blogspot.com/2016/01/carl-gustav-jungs-personalitytheor.html            


5. ทฤษฎีจิตวิทยาบุคคลของอัลเฟรด แอดเลอร์http://plabooza.blogspot.com/2016/01/adlers-individual-psychology.html


6.  ทฤษฎีมนุษย์นิยมของอับราฮัม มาสโลว์http://plabooza.blogspot.com/2016/01/humanism.htmlhttp://plabooza.blogspot.com/2016/01/sigmund-freud.html


7.ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของคาร์ล โรเจอร์http://plabooza.blogspot.com/2016/01/blog-post.html


8. ทฤษฎีของ Karen Horney http://plabooza.blogspot.com/2016/01/karen-horney.html


9. ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริคฟรอมม์http://plabooza.blogspot.com/2016/01/erich-fromm.html


10. ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ http://plabooza.blogspot.com/2016/01/transactional-analysis-ta.html


11. ทฤษฎีมนุษย์นิยมhttp://plabooza.blogspot.com/2016/01/behaviorism.html

Motto Public Health

Public
          P..Prevention การป้องกัน
          U..Uphold การส่งเสริมเเละสนับสนุน
          B..Bestead การเอื้ออำนวย
          L..Learning การศึกษา การเรียนรู้
          I..Ideal อุดมการณ์ อุดมคติ
          C..Care การดูเเล

Public ยึดมั่นในอุดมคติ อุดมการณ์ โดยการศึกษาเเละเรียนรู้ที่จะส่งสริมเเละสนับสนุน การป้องกัน เพื่อเอื้ออำนวยในการดูเเลสุขภาพของประชาชน
Health
         H..Heart หัวใจ(ใจรัก)

         E..Efficiency ประสิทธิภาพ

         A..Allegiance การอุทิศตน

         L..Liaise การติดต่อประสานงาน

         T..Treatment การรักษาฟื้นฟู
         H..Hardy อดทน เเข็งเเรง

Health เน้นการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ด้วยการติดต่อประสานงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีความอดทนอดกลั้นเเละอุทิศตนด้วยใจรัก

Public Health ยึดมั่นในอุดมคติ อุดมการณ์ โดยการศึกษาเเละเรียนรุ้ ในการติดต่อประสานงาน อย่างมีความอดทนเเละอุทิศตนด้วยใจรักที่จะส่งเสริมเเละเอื้ออำนวย ในการป้องกัน ดูเเลรักษา เเละการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

เนื้อหา
1. ทฤษฎีบุคลิกภาพ http://plabooza.blogspot.com/2016/01/blog-post_91.html

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ (Transactional Analysis – TA)

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์  (Transactional Analysis – TA)
อีริค เบิร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบิร์นสไตลน์ พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบิร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบิร์น ซารา กอร์ดอน เบิร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบิร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบิร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. 
      ทั้งพ่อและแม่ของเบิร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก, ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย. คุณหมอเบิร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย 38 ปี. แม่ของเบิร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิต เธอสนับสนุนให้เบิร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบิร์นสไตน์พ่อของเบิร์น. เบิร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในปี 1935

อีริค เบิร์น
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psychologist&date=17-11-2006
โครงสร้างบุคลิกภาพ

            ปกติแล้วในตัวคนๆ หนึ่งจะประกอบด้วยลักษณะการแสดงออก 3 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ (Parent ego state) ส่วนที่มีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่ (Adult ego state) และส่วนที่มีลักษณะคล้ายเด็ก (Child ego state) แต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และในแต่ละสถานการณ์ บางทีอาจแสดงออกเป็นผู้ใหญ่ บางทีอาจแสดงออกเป็นเด็ก ซึ่งเราจะสามารถสังเกตและวิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมการแสดงออกทั้งทางวาจา สีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวทางกายต่างๆ

               สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent ego state “P”)
แน่นอนที่ว่าลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้เราจะได้รับถ่ายทอดจากพ่อ แม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเรามา ดังนั้นจึงเป็นการแสดงพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กในปกครอง เป็นลักษณะการประเมินคุณค่า ตัดสินใจต่างๆ โดยใช้มาตรฐานทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมของคนอื่น และบางครั้งก็จะมีอคติในการประเมินอันเนื่องจากความเชื่อผิดๆ หรือใช้ประสบการณ์เดิมของตนเข้ามาตัดสิน
              สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult ego state “A”)
เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพในสภาวะความเป็นผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง แยกแยะปัญหา ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนพิจารณาตัดสินใจใด ๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมโดยหลักของเหตุผลไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จำแนกความเป็นจริงออกจากความคิดเห็น ความเพ้อฝัน ความรู้สึกหรือขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างเหมาะสม มักจะตรวจสอบสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำถามว่า อะไรทำไมอย่างไรที่ไหนเมื่อไร” อยู่เสมอ
เราสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น ท่าทางตั้งใจ สนใจ รับข้อมูลต่างๆท่าทางเอาใจใส่ มุ่งมั่นในการทำงาน

             สภาวะความเป็นเด็ก (Child ego state “C”)
จะเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงถึงความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของคน เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของเด็กในวัย 0 – 7 ปี ที่แสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กับตนเอง และแสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทันทีทันใด เป็นการเปิดเผยอารมณ์ ความรู้สึกในสถานการณ์ต่างๆ ตามที่อยากจะเป็น เช่น ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ มีความสุข โกรธ อาย กลัว อิจฉา ไม่พอใจ ไม่กล้าแสดงออก เห็นแก่ตัว ไวต่อการรับรู้ นอกจากนั้นเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ขัดเกลาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้รู้จักไตร่ตรองยอมรับฟัง ยอมทำตาม เชื่อฟัง ชอบพึ่งพาผู้อื่น ไม่กล้าตัดสินใจ
สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก อย่างเช่น กระทืบเท้า ร้องไห้ ขว้างปาสิ่งของ ตบมือ กระโดดโลดเต้น แสดงอาการดีใจ กริยายอมจำนน ยอมตาม ปฏิบัติตามคำสั่ง อาการเหงา หลบมุม หรือแม้กระทั่งการตกแต่งรถติดสติคเกอร์ ประดับรถด้วยรูปภาพ และถ้อยคำต่างๆ

                 ทัศนะในชีวิต (Life Position)
ในบรรดาประสบการณ์ทั้งหลายซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรานั้น ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าความคิดเห็นเบื้องต้นที่เรามีต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ความคิดเห็นเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากความใส่ใจที่เราได้รับ และความใส่ใจที่เราเรียนรู้ที่จะให้แก่ผู้อื่น (อ่านรายละเอียดในบทความเรื่องความเอาใจใส่/เกมชีวิตและบทบาทชีวิต) ความคิดเห็นดังกล่าวนี้มีอิทธิพลยิ่งกว่าความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปที่เราจะมีในระยะต่อมา ทัศนะในชีวิตแบ่งเป็น 4 ทัศนะ คือ

             “I’m not OK – You’re OK” เป็นทัศนะที่ดูเหมือนว่าเป็นปกติธรรมดามาก เรามักจะมีทัศนะนี้ด้วยการบันทึกคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยินเกี่ยวกับตัวเองซึ่งทำให้รู้สึกท้อแท้และต่ำต้อย คำพูดเช่นว่านี้ได้แก่ เธอน่ะโง่” “เธอน่ะขี้เกียจ” หรือ ลูกน่ะไม่เคยทำอะไรถูกเลย” ทัศนะเหล่านี้ถูกสนับสนุนว่าเป็นจริงด้วยวิธีการที่คนอื่น ๆ ปฏิบัติต่อเราด้วย เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลลงในเทปที่เราบันทึกไว้ เรา ๆ ก็จะสรุปว่า ฉันโง่” “ฉันขี้เกียจ” หรือ ฉันไม่เคยทำอะไรถูกเลย” และถ้าเรามิได้เป็นเช่นนี้มาก่อนอีกไม่นานก็จะกลายเป็นเช่นนี้ได้ในที่สุด

                “I’m not OK – You’re not OK” เป็นทัศนะที่ไม่มีใครดีเลยสักคนเดียวในโลกนี้แม้แต่ตนเอง ทัศนะนี้มักจะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กโดยการที่ถูกลืมจากคนจากบุคคลรอบข้าง ไม่เคยได้รับความเอาใจใส่หรือสนใจจากผู้ใด และจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้งดำเนินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเหตุให้สรุปได้เลยว่า คนอื่น ๆ นั้นไม่ดี (You’re not OK) เพราะคนเหล่านั้นไม่ให้การใส่ใจแก่เขา และตัวเขาก็ไม่ดีด้วย (I’m not OK) ทัศนะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพราะว่าชีวิตนี้ไม่มีค่า มีแต่ความเลวร้ายจนไม่อาจจะทนอยู่ในสภาพเหล่านี้ได้อีกต่อไป

              “I’m OK – You’re OK” เป็นทัศนะเดียวเท่านั้นที่มีลักษณะสร้างสรรค์ บุคคลจะมีทัศนะนี้โดยอัตโนมัติถ้าเขาเจริญเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เขาได้รับการใส่ใจทางบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใส่ใจอย่างมีเงื่อนไขเพื่อความเจริญงอกงามไปตามขั้นตอนตามพัฒนาการของเขา บุคคลเหล่านี้จะเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็เห็นคุณค่าของผู้อื่น พร้อมที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งภายในตนเองและกับผู้อื่น

             “I’m OK – You’re not OK”
ทัศนะนี้อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในชีวิตที่ถูกกระทบกระเทือน อาจเป็นทางด้านกายภาพและทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเปลี่ยนทัศนะเดิมที่เคยมีมาก่อนจาก “I’m OK – You’re OK” มาเป็น “I’m OK – You’re not OK” นักวิชาการชี้ว่าบุคคลที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายหรือกระทบกระเทือนจิตใจ และคนนั้นผ่านประสบการณ์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมาได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นรุนแรงหรือบ่อยครั้งจะทำให้คนมีความรู้สึกว่า ฉันจะเป็นคนดีถ้าปล่อยฉันไว้ตามลำพัง…” “ฉันเป็นคนดีได้ด้วยตัวของฉันเอง…”ดังนั้นคนผู้นี้จะมองคนอื่นด้อยกว่า ไม่ดีพอหรือไม่มีความสามารถพอ ทำให้กลายเป็นคนที่ไม่เชื่อใจ และไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น


อ้างอิง 

พระจันทร์รุ่งสาง.โครงสร้างบุคลิกภาพ(ออนไลน์).สืบค้นจาก :
     http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psychologist&date=17-11-2006&group=2&gblog=1
     (19 มกราคม 2559)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



ทฤษฎีบุคลิกภาพแอริค ฟรอมม์(Erich Fromm)

แนวคิดทางบุคลิกภาพแอริค  ฟรอมม์(Erich  Fromm)
แอริค  ฟรอมม์เป็นนักทฤษฏีบุคลิกภาพที่มีพื้นฐานการศึกษาทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาแล้วทำงานเป็นอาจารย์   จากพื้นฐานการศึกษาอย่างกว้างขว้างทางประวัติศาสตร์  สังคมวิทยา  วรรณคดีและปรัชญา เขาได้ทุ่มเทความสนใจเพื่ออธิบายความเห็นว่า  โครงสร้างของสังคมใดๆย่อมกล่อมเกลาบุคลิกภาพของสมาชิกให้เข้ากันได้กับค่านิยมส่วนรวมของสังคมนั้นๆ  หนังสือของฟรอมม์ได้รับการต้อนรับอย่างแพร่หลายจากนักอ่านทั่วโลก  นอกจากผู้ศึกษาสาขาจิตวิทยา  จิตแพทย์ สังคมวิทยา ปรัชญา และศาสนา ยังรวมทั้งผู้อ่านที่สนใจความรู้ทั่วๆไปด้วย

แอริค  ฟรอมม์

แอริค  ฟรอมม์ เกิกที่เมืองฟรังก์เฟิร์ต เยอรมันเมื่อค.ศ.1900 ศึกษาที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก สาขาจิตวิทยาและสังคมวิทยา ได้ปริญญาเอกเมื่อค.ศ.1922ต่อมาได้ฝึกฝนจิตวิเคราะห์ที่เมืองมิวนิคและที่   ปีค.ศ.1933เดินทางไปอเมริกาเป็นอาจารย์ผู้บรรยาวิชาจิตวิเคราระห์ที่ ต่อม่าย้ายไปอยู่นิวยอร์กเปิดคลินิกจิตวิเคราะห์ของตนเอง  ได้รับเชิญเป็นผู้บรรยาวิชานี้ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งในอเมริกา
แนวคิดที่สำคัญ
แนวคิดของฟรอมม์สะท้อนให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลจากความคิดของคาร์ล  มาร์กซเป็นอย่างมาก  โดยฉพาะจากหนังสือชื่อ ที่เขียนในปี1944  และหนังสือที่เขาเขียนพาดพิงเกี่ยวพันกับความคิดของมาร์กซ์โดยตรงมีหลายเล่มเช่น ฟรอมม์เปรียบเทียบความคิดของฟรอยด์กับมาร์กซ์และแสดงความชื่นชมความคิดของมาร์กซ์มากกว่าความคิดของฟรอยด์ จนฟรอมม์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ แต่ตัวเขาเองรียกทฤษฎีของเขาว่าแนวคิดที่สำคัญบางประการมีดังนี้
 ความอ้างว้างเดียวดาย
เรื่องนี้เป็นสาระที่ฟรอมม์อธิบายมาก  เขาเชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการเช่น
1. การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็แยกตัวเหินห่างจากธรรมชาติ จากสัตว์โลกพวกอื่นๆและจากบุคคลอื่นๆ
2. มนุษย์แสวงหาอิสระเสรีทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนา เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง  ตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นที่เป็นอิสระพ้นจากความดูแลพ่อแม่ผู้ปกครอง จะพบว่าตัวเองเผชิญความว้าเหว่
3.พัฒนาการทางเทคโนโลยี่สมัยใหม่ในวัตถุใช้สอยประจำวัน เช่นเครื่องมือเพื่อความบันเทิง เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน  ทำใฟห้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นน้อยลง เมื่อต้องติดต่อพูดจาก็มีท่าทีห่างเหินไว้ตัว
ฟรอมม์เสนอ  ทางแก้ความอ้างว้าง2ประการคือ
1.สร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนพื้นฐานความรักสร้างสรรค์( productive Love ) ซึ่งได้แก่
- ความเอื้ออาทรต่อกัน
- ความรับผิดชอบต่อกันและกัน
- ความนับถือซึ่งกันและกัน
- ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ยอมตนอ่อนน้อมและทำตัวคล้อยตามสังคม
ฟรอมม์มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ตามข้อเสนอข้อแรก ส่วนการแก้ไขความอ้างว้างด้วยการทำตัวคล้อยตามสังคมตามข้อเสนอข้อหลังเขาเห็นว่าเป็นการเข้าสู่ความเป็นทาสรูปแบบใหม่นั่นเอง   ในหนังสือ Escape from Freedom ที่เขาเขียนในปี1941 ขณะลัทธินาซีกำลังรุ่งโรจน์ เขาชี้ให้เห็นว่าลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนหมู่มากเพราะมันเสนอจะให้ความมั่นคง(แก่ผู้รู้สึกอ้างว้าง)ความต้องการ
ฟรอมม์กล่าวว่ามนุษย์มีความติองการ5ประการคือ
1.ความต้องการมีสัมพันธภาพ เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดียวดายตามเหตุที่ได้กล่าวมาจึงต้องแก้ไขด้วยการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ วิธีที่ดีงามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรักแบบสร้างสรรค์(ความเอื้ออาทรต่อกัน/ความรับผิดชอบต่อกันและกัน/ความนับถือซึ่งกันและกัน/ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
2.ความต้องการสร้างสรรค์ เนื่องจากมนุษย์มทีความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์สูง จึงมีความต้องการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของชีวิตแตกต่างกับสัตว์โลกชั้นต่ำ  หากผู้ใดไม่มีความต้องการประเภทนี้ก็มักจะเป็นนักทำลาย เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม
3.ความต้องการมีสังกัด คือความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว/ของสังคม/ของโลกความต้องการประเภทนี้ที่น่าพึงพอใจและถูกต้องคือการมีไมตรีจิตกับเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป
4.ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน คือความต้องการจะเป็นตัวของตัวเอง ความต้องการที่จะรู้จักว่าตัวเองเป็นใคร
5.ความต้องการมีหลักยึดเหนี่ยว คือความต้องการที่จะมีหลักสำหรับอ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตนเช่น คำกล่าวอ้างว่า—ฉันทำอย่างนี้เพราะหัวหน้าสั่งให้ทำหรือ—ฉันต้องมีรถยนต์เพราะไปทำธุระสะดวกขึ้น/  ข้ออ้างเหล่านี้อาจสมเหตุสมผลหรือไม่ก็ได้
ความขัดแย้ง
มนุษย์ทุกเพศทุกวัยในสังคม  ต่างมีความขัดแย้งในตนเองเช่น ความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกอ้างว้างและความรู้สึกมีอิสระเสรี/ความเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติกับความห่างเหินจากธรรมชาติ/ความเป็นสัตว์โลก(คือความต้องการทางชีวภาพล้วนๆไร้กฏเกณฑ์)กับความเป็นมนุษย์(ความมีสำนึกรู้-การใช้เหตุผล-การมีจินตนาการ-ความนิ่มนวล-ความรักใคร่ไยดีฯลฯ)
อิทธิพลของสังคม

ฟรอมม์เป็นนักสังคมศาสตร์ แต่ได้รับการอบรมด้านจิตวิเคราะห์ร่วมด้วย  เนื่องจากเขาเคยอพยพจากยุโรปเข้ามาสู่อเมริกาในช่วงเวลาหนึ่งได้เห็นความแตกต่างระหว่างสังคมยุโรปกับสังคมอเมริกันทำให้ฟรอมม์ยิ่งมีความเชื่อมั่นว่า สังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูง ประสบการณ์นี้และความรู้ด้านสังคมศาสตร์ ทำให้เขาอธิบายลักษณะสังคมแบบต่างๆที่มีผลต่อการวางรูปแบบพฤติกรรมมนุษย์ในสังคมแบบนั้นๆ

 องค์ประกอบในการสร้างบุคลิกภาพ
ฟรอมม์เห็นว่าบ้านมีอิทธิพลที่สำคัญแก่บุคลิกภาพ  ฟรอมม์ตั้งข้อสังเกตุว่าการเลี้ยงดูเด็กสมัยใหม่นี้เปลี่ยนแปลงไปมาก สมัยนี้พ่อแม่ไม่มั่นใจว่าทำอย่างไรจะถูกเลยปล่อยให้เด็กรับผิดชอบเอาเอง แต่ความรับผิดชอบก็คือภาระอย่างหนึ่ง ถ้าหนักเกินกำลังเด็กก็แบกไม่ไหว
พ่อแม่สมัยนี้มีระดับการครองชีพดีกว่าสมัยก่อน เห็นว่าคนรุ่นตนลำบากมาแล้วไม่อยากให้ลูกต้องลำบากเหมือนตนจึงหาความสบายมามอบให้ ทำให้ลูกกลายเป็นคนประเภทเอาเปรียบคือได้อะไรมาง่ายๆจึงไม่มีความมานะพยายาม ครั้นลูกทำอะไรไม่สำเร็จพ่อแม่ก็ผิดหวัง ส่วนลูกก็ไม่มีความสุขนักเพราะวิสัยมนุษย์นั้นย่อมแสวงหาความสำเร็จ แต่การเลี้ยงดูนำไปสู่การเลี้ยงไม่รู้จักโตเลยกลายเป็นวงจรร้ายมิอาจสร้างสังคมที่ดีงามได้  บุคลิกภาพอันเป็นอุดมการของมนุษย์เกิดขึ้นจากสัมพันธภาพแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ร่วมทุกข์ร่วมสุข มิใช่ว่าให้ฝ่ายหนึ่งแบกภาระแต่อีกฝ่ายไม่รับผิดชอบ  ฟรอมม์กล่าวว่าสัมพันธภาพแบบร่วมทุกข์ร่วมสุขจะมีขึ้นมาได้ก็ด้วยความรักอันบริสุทธิ์ใจ
                ฟรอมม์มีความเชื่อมั่นว่ามนุษย์มีความใฝ่ดีและสามารถควบคุมตัวเองได้แต่จากหนังสือเล่มหลังสุดชื่อAnatomy of Humam Destructiveness ได้แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยในพลังแห่งจิตไร้สำนึกซึ่งถือว่าเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมมนุษย์จะหนักไปทางความรุนแรง  อย่างไรก็ตามฟรอมม์ไม่เห็นด้วยกับนักชีววิทยาฝ่ายสัญชาตญาณอันมีKonrad Lorenz เป็นต้นซึ่งถือเอาผลของการศึกษาสัตว์มาเทียบเคียงกับมนุษย์ และเห็นว่าความรุนแรงเป็นนิสัยอันเป็นมรดกที่สืบเนื่องมาจากธรรมชาติของสัตว์ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน   และฟรอมม์ก็ไม่เห็นด้วยกับนักพฤติกรรมศาสตร์เช่น B.F. Skinnerที่ถือว่านิสัยรุนแรงของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่เลวและอาจแก้ไขได้ด้วยการวางเงื่อนไขกลับให้พฤติกรรมมนุษย์ในอนาคตไปสู่ความสงบ  ฟรอมม์เห็นว่าการจับเอามนุษย์มาวางเงื่อนไขเอาตามใจชอบนั้นขัดกับพื้นฐานความเป็นมนุษย์ ฟรอมม์เชื่อมั่นว่าสังคมที่เราอยู่ต่างหากที่จะสร้างนิสัยรุนแรงหรือสงบ ดังนั้นจึงควรเน้นที่หน้าที่ของสังคม
ฟรอมม์จะเป็นนักจิตวิทยาคนเดียว ที่ได้อธิบายรูปแบบของสังคมประเภทต่างๆที่หล่อหลอมบุคลิกภาพของคนในสังคมนั้นให้เป็นไปอย่างนี้หรืออย่างนั้น  ซึ่งก็ไม่มีผู้ใดวิจารณ์ค้านแนวคิดเรื่องอิทธิพลของลักษณะทางสังคมที่มีต่อบุคลิกภาพของมนุษย์ แต่ก็มีนักวิจารณ์บางท่านกล่าวว่าฟรอมม์เห็นสังคมมนุษย์สวยงามเกินไป เพราะแท้จริงแล้วมนุษย์ไม่สามารถจัดการสังคมให้ดีงามและเหมาะสมสำหรับคนทุกคน  เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนไม่ได้ดีงามเหมือนๆกันทุกคน สมรรถภาพของแต่ละคนก็แตกต่างกัน

ทฤษฏีที่น่าสนใจของฟอรมม์มีดังนี้
1.การเป็นผู้วางอำนาจ  ฟอรมม์สนใจในอิทธิพลของการเป็นผู้วางอำนาจของบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดที่มีต่อสังคม  เขาเขียนไว้ในหนังสือ  เพราะเหตุที่คนเรากลัวความหว้าเหว่ที่ต้องผจญอยู่แต่ผู้เดียว  แม้ว่าต้องแลกกับความเป็นตัวของตัวเอง  ซึ่งปราถนามาแต่ต้น  ก็ทำให้คนเราจำยอมอ่อนน้อมต่อผู้วางอำนาจ  ยอมตามผู้นำ  ฟอรมม์สังเกตเห็นว่าภายใต้ลัทธิวางอำนาจนี้  ผู้ใดผ่าฝืนถือว่าเป็นบาปอย่างมหันต์  เพราะมีกฎตายตัวอยู่ว่าต้องเชื่อผู้นำ  แม้ว่าผู้นำจะผิดก็ไม่มีทางที่จะเถียงได้  ทั้งนี้ย่อมขัดกับหนักความรักของตัวเอง  และความรับผิดชอบที่คนเรามีต่อความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ชาติ
2.การผลิตผล ฟรอมม์มีความเห็นว่ากิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะเจริญสัมพันธภาพกับโลกแห่งผู้คนและสิ่งต่างๆและกับตัวเองได้ดีสัมพันธภาพนี้อาจเป็นในทำนองผลิตผลหรือทำลาย ฟรอมม์ได้เน้นไว้ในหนังสือ Man for Himself ว่าความมุ่งหมายและหลักศีลธรรมของมนุษย์ก็คือ การมีชีวิตอยู่อย่างมีประโยชน์ ไม่อยู่เปล่าโดยปราศจากผลิตผลให้เป็นที่อาศัยของเพื่อนร่วมโลก ฟรอมม์ชี้ให้เห็นว่าบุคคลที่ทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนมนุษย์ที่แท้จริงนั้นมิใช่ประเภทที่วิ่งวุ่นวาย เจ้ากี้เจ้าการ ในการจัดงานกุศลง่ายๆ สาระแนไปเสียทุกเรื่อง หรืออุทิศเวลาให้แก่สังคมเสียจนไม่เป็นอันกินอันนอน อันที่จริงบุคคลประเภทเจ้ากี้เจ้าการนั้นก็อยู่ในประเภทโรคประสาทไม่แพ้พวกขี้เกียจเลย บุคคลที่บำเพ็ญประโยชน์อันที่จริงแล้วย่อมแตกต่างจากพวกวุ่นวายและพวกขี้เกียจเพราะเขามีความสามารถที่จะมองเห็นสถานการณ์ที่แท้จริงและยอมรับนับถือผู้คนที่ตอยูในสถานการณ์นั้น ตามฐานะที่แท้จริงของเขาบุคคลที่มีความสามารถเช่นนี้ย่อมรู้จักมองโลกเป็นการไม่เข้าใครออกใครและขณะเดียวกันก็รู้จัก เอาใจเขามาใส่ใจเราได้เหมือนกันความสมารถวางตนเป็นกลาง และความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นนี้ถ้าถือแต่อย่างใดอย่างเดียว จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นสถานการณ์ที่แท้จริงได้ จนเราต้องมีทั้งสองอย่าง จึงจะสามารถเกิดเจตคติในทางผลิตผลขึ้นได้ อันว่าเจตคติในทางผลิตผลนี้ย่อมเกี่ยวกับความรักด้วย ตามปกติธรรมดามนุษย์ผู้ต้องการความเป็นตัวของตัวเองย่อมต้องมีความรักตนเองเสียก่อน
3.บุคลิกภาพประเภทต่างๆ  ฟอรมม์มีปรัชญาว่า  ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง  หรือบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่โลกตลอดกาล  จนไม่คิดถึงชีวิตชีวา  บุคคลหนึ่งๆบุคคลเดียวกันนั้น  อาจจะเป็นได้ทั้งผู้บำเพ็ญประโยชน์และผู้ไร้ประโยชน์  หากแต่มีความต่างกันอยู่ตรงที่ความหนักเบาของบุคลิกภาพทั้ง2 ประเภทนี้  เช่น  บางคนชอบการบำเพ็ญประโยชน์เป็นชีวิตจิตใจ  ชีวิตอยู่ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์เป็นส่วนใหญ่แต่บางคนอยู่เฉย  อย่เปล่าๆ  เป็นส่วนมาก  บางครั้งอุปนิสัยบางอย่างของคนเราอาจจะดูไม่ออกว่าอยู่ในลักษณะบำเพ็ญประโยชน์หรือไร้ประโยชน์

อ้างอิง

พรรณิดา  ผุสดี(2555).แนวคิดทางบุคลิกภาพแอริค  ฟรอมม์(ออนไลน์).สืบค้นจาก: 

      http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-6 (19 มกราคม 2559)

ทฤษฎีบุคลิกภาพของซัลลิแวน

แฮรี  สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack Sullivan) ซัลลิแวน  เกิดเมื่อวันที่  21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.  1892 
ที่มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ.  1949  ที่กรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศส ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์  จากวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโก  ได้เข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามโลกครั้งที่  2  เมื่อสงครามยุติลงเขาได้รับราชการเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ  ต่อมาได้ทำงานในคณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีมากในขณะนั้น 

แฮรี  สแต็ค ซัลลิแวน 
 ซัลลิแวน  เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์  นักกล่าวสุนทรพจน์ทางด้านจิตเวช  เป็นผู้นำในการฝึกฝนจิตแพทย์ในด้านบุคลิกภาพ  เขาได้เริ่มตั้งทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ปี  ค.ศ.  1929 และสำเร็จในกลางปี  ค.ศ. 1930  ตลอดชีวิตของซัลลิแวนได้มีผลงานการเขียนเพียงเล่มเดียว  คือ  ทฤษฎีบุคลิกภาพในปี  1947
โครงสร้างบุคลิกภาพ  (Structure  of  Personality) 
ซัลลิแวน  เห็นว่าพันธุกรรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานความเจริญเติบโตและต้องมีความสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่  บุคคล  สภาพการณ์ต่างๆ  มนุษย์ต้องเรียนรู้การอยูร่วมกัน  ทำงานร่วมกัน  และจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระบบ  เขาได้อธิบายว่าพฤติกรรมของบุคคลที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการทำงานประสานกันของระบบทั้ง  3 คือ การแปรผัน (Dynamism) กระบวนการของพฤติกรรม (Patterm) และการแปรผันพลังจิต  (Dynamism of  Psychiatry)  ซึ่งทำให้เกิดความเครียด (Tension) บุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่ตนเคยรับรู้  ทำให้เกิดการผ่อนคลาย  (Euphoria)  นอกจากนี้ความเครียดของบุคคลอาจเกิดจากความต้องการ  (Need)  ซึ่งไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้เสียสมดุลของชีวิต  หรือความเครียดอาจเกิดจากความกังวล  (Anxiety)  ที่บุคคลไม่รู้สึกอบอุ่นหรือมั่นคงในเรื่องของความรักระบบตน  (Self  System)  พ่อแม่จะเป็นผู้ปรุงแต่งบุคลิกภาพเบื้องต้นให้แก่ทารกจนกว่าทารกจะรับรู้และสามารถสร้างภาพตนเองขึ้นมาได้ว่า  “ฉันดี” (Good  Me) “ฉันเลว”  (Bad  Me)  และ  “ไม่ใช่ฉัน” (Not  Me)  โดยที่ทารกจะได้รับประสบการณ์  3 ด้าน  ดังนี้
1) ประสบการณ์ที่ได้รับคำชมเชย
2) ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทีละน้อยสะสม
3) ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลรุนแรงเฉียบพลัน
ซัลลิแวน  ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของทารกที่มีต่อพ่อแม่ว่าเป็นรากฐานในการแปรผันพลัง  (Dynamism)  ในวัยต่อมา  ทารกสามารถสร้างความอบอุ่นมั่นคงแก่ตนเองได้  เมื่อพบเหตุการณ์ไม่ต้องการ  และในการสร้างภาพตนเองเกิดจากประสบการณ์ดังนี้
1.ภาพตนเองที่ว่า  “ฉันดี”  (Good  Me  Self)  จะเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่  อ่อนโยน  เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  เป็นห่วงเป็นใยซึ่งทารกจะเกิดความพึงพอใจ
2. ภาพตนเองที่ว่า  “ฉันเลว”  (Bad  Me  Self)  เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง  ไม่ดูแล  ไม่ตอบสนองความต้องการของทารก  ทำให้ทารกเกิดความไม่พอใจเกิดความวิตกกังวล
3.  ภาพ  “ไม่ใช่ฉัน”  (Not  Me)  เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง  ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง  และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า  “ไม่ใช่ฉัน”  เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง



อ้างอิง

พระจันทร์รุ่งสาง.โครงสร้างบุคลิกภาพ(ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://hlinzaii.50webs.com/j9_7.htm.
     (18 มกราคม 2559)

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung’s PersonalityTheor)

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung’s PersonalityTheor)
ประวัติของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung. 1875-1961) จุง เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม ค.ศ. 1875 ที่เมือง Kesswyl ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายา 1961 เขาสาเร็จแพทย์จากมหาวิทยาลัยบราซิล (University of Basel) 
คาร์ล กุสตาฟ จุง
2011&group=7&gblog=3 (19 มกราคม 2559)

จุงมีความเชื่อในเรื่องของจิตไร้สานึกซึ่งสะสมมาแต่อดีต (Collective Unconscious) หรือประสบการณ์ในจิตไร้สานึก (Personal Unconscious และจุงยังเสนอบุคลิกภาพ 2 แบบ คือ แบบเปิดตัว (Extraversion) และแบบเก็บตัว (Introversion) พร้อมกับแง่คิดในเรื่องรูปลักษณ์ (Archetype) ปม (Complex) และสัญลักษณ์ (Symbol) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จุงรับราชการเป็นแพทย์ของกองทัพบก ต่อมาในปี ค.ศ. 1933,1936 – 1940 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจามหาวิทยาลัยที่ซูริกและบราซิล เขาได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกตามมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากเป็นนักจิตวิทยาแล้วจุงยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการศึกษาด้วย เขาได้เขียนหนังสือและบทความหลายเรื่อง
แนวความคิดทฤษฎีบุคลิกภาพของจุงนั้นจำแนกเป็นส่วนสำคัญได้ 2 ส่วน ดังนี้
(1) โครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality) บุคลิกภาพตามความหมาย
ของจุงคือจิต(Psyche) ซึ่งประกอบด้วยระบบต่างๆ เป็นส่วนๆ มาทำงานรวมกัน ได้แก่
ก. อีโก้ จุงเชื่อว่าอีโก้เป็นศูนย์กลางแห่งบุคลิกภาพของบุคคลซึ่งอยู่ในส่วนของจิตสำนึก(conscious) ซึ่งประกอบไปด้วยความจำ ความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และการมีสติซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่บุคคลจะสามารถรับรู้เกี่ยวกับตนเองได้ตลอดเวลา จึงเท่ากับว่าอีโก้เป็นตัวกำหนดบทบาท หน้าที่ และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล
ข. จิตใต้สำนึกส่วนบุคคล (Personal Unconscious) ส่วนนี้จะอยู่ถัดจากอีโก้ลงไป เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยประสบการณ์ต่างๆที่เคยอยู่ในจิตสำนึกมาก่อนแต่ได้ถูกกดลงสู่จิตใต้สำนึก (Unconscious) ด้วยกลไกทางจิต ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการที่จะลืมประสบการณ์เหล่านั้นเพราะเป็นความเจ็บปวด เป็นทุกข์ หรือไม่พอใจเป็นต้น ต่อมาภายใต้สถานการณ์เหล่านั้น สิ่งแวดล้อมหรือ ได้รับสิ่งเร้าที่เหมาะสม ประสบการณ์เหล่านั้นอาจจะผลักดันขึ้นมาสู่จิตสำนึกที่รับรู้ได้อีกครั้งประสบการณ์ต่างๆ ภายในจิตใต้สำนึกส่วนบุคคล (Personal Unconscious) นี้ถ้าได้รับการรวบรวมให้เป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของความรู้สึก (Constellation) ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จุงเรียกการเกิดสภาวะเช่นนั้นว่าปม (Complex) ดังนั้นเท่ากับว่าจิตใต้สำนึกส่วนบุคคลจึงเป็นแหล่งรวบรวมปมของบุคคลไว้มากมาย เช่น ปมเกี่ยวกับแม่ (Mother Complex) เกิดจากการจัดกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับแม่ เช่น ความรู้สึก ความจำต่างๆ ที่ได้รับจากแม่จนก่อตัวขึ้นเป็นปมเมื่อพลังจากปมนี้มีมากจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางในการควบคุมบุคลิกภาพของบุคคลนั้นให้ทำตามสิ่งที่แม่พูด แม่สั่ง แม่คิด หรือสิ่งที่เป็นความประสงค์ของแม่ แม้กระทั่งการเลือกภรรยาก็จะเลือกบุคคลซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับแม่ของตน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ต่างๆ ที่รวมกลุ่มหรือหมวดหมู่ขึ้นเป็นปมนั้นอาจกลับขึ้นมาสู่จิตสำนึกได้อีกครั้งถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
ค.จิตใต้สำนึกส่วนที่สะสมประสบการณ์ในอดีตชาติ (Collective Unconscious) จุง อธิบายว่าจิตใต้สำนึกส่วนนี้จะทำหน้าที่สะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ทุกคนได้รับเป็นมรดกสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่เริ่มต้นมีมนุษย์เกิดขึ้นภายในโลกเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้ จุงเชื่อว่ามนุษย์ ทุกคน ทุกตระกูล ทุกเชื้อชาติ และทุกเผ่าพันธุ์ต่างก็มีประสบการณ์ในจิตใต้สำนึกส่วนที่สะสม ประสบการณ์ในอดีตชาติที่เป็นต้นฉบับเดียวกันทั้งสิ้น โดยบันทึกเป็นข้อมูลอยู่ในสมองแล้วถ่ายทอดกันมาแต่ละรุ่นยาวนานตลอดจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ในการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของมนุษย์ทั่วโลก จึงอธิบายจากต้นฉบับที่ถูกบันทึกไว้ตั้งแต่อดีตชาติได้เหมือนกันหมด เช่น ทำไมเด็กทารกจึงเกิดมากับความพร้อมที่จะรับรู้และสร้างสัมพันธภาพอันดีกับแม่เป็นอันดับแรก ถ้าอธิบายตามแนวคิดของจุงนั้นเป็นเพราะว่าเด็กได้รับประสบการณ์ความสัมพันธ์กับแม่มาตั้งแต่อดีตชาติภายใต้จิตใต้สำนึกส่วนที่สะสมประสบการณ์ใน อดีตชาติ จึงทำให้มีพื้นฐานเช่นนี้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน
ง. หน้ากาก (Persona) หมายถึง สภาวะของบุคคลที่จะต้องแสดงบทบาทไปตามความคาดหวังของสังคมและเป็นไปตามขนบธรรมเนียมประเพณีตามที่สังคมกำหนด หรือเป็นการแสดงออกเพื่อให้ได้รับการยอมรับและสร้างความประทับใจบุคคลอื่นๆ ดังนั้นในบางครั้งบุคลิกภาพของบุคคลที่เกิดจากการใช้หน้ากาก จึงอาจจะมีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพที่แท้จริงภายในตัวบุคคลนั้นได้ เท่ากับว่าหน้ากากจึงทำหน้าที่ควบคุมบุคลิกภาพส่วนที่ไม่ดีที่แท้จริงของบุคคลไม่ให้ปรากฎออกมาต่อสังคมภายนอก ความขัดแย้งระหว่างบุคลิกภาพเหล่านี้ถ้าเกิดบ่อยครั้งในหลายๆ เรื่องอาจจะทำให้บุคคลนั้นขาดความเป็นตัวของตนเอง กลายเป็นคนสวมหน้ากากเข้าหาผู้อื่น หรือเป็นคนที่มีความขัดแย้งในใจได้
จ. ลักษณะซ่อนเร้น (Anima or Animus) จุงเชื่อว่ามนุษย์มีลักษณะทั้งสองเพศอยู่ในคนคนเดียวกัน โดยจะเห็นได้จากการที่เพศชายจะมีความนุ่มนวลและอ่อนโยนซึ่งเป็นลักษณะของเพศหญิงอยู่ในตัว จุงเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าแอนิมา (Anima) ส่วนผู้หญิงจะมีความเข้มแข็ง กล้าหาญ และเด็ดขาดซึ่งเป็นลักษณะของเพศชายซ่อนเร้นอยู่ในตัวเช่นกัน จุงเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าแอนิมัส (Animus) จากลักษณะทั้งสองเพศที่ซ่อนเร้นอยู่นี้จึงทำให้ผู้ชายเข้าใจธรรมชาติของผู้หญิง และผู้หญิงก็มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้ชายได้ด้วยตัวของตัวเอง
ฉ. เงาแฝง (Shadow) เป็นภาพหรืออาร์คีไทป์รูปแบบหนึ่งที่ก่อตัวมาจากสัตว์ก่อนจะมีวิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าเงาแฝงเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ที่จะส่งผลให้มนุษย์แสดงความชั่วร้าย ก้าวร้าว และป่าเถื่อน รวมทั้งพฤติกรรมต่างๆ ที่ขัดแย้งกับกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม เงาแฝงเหล่านี้จะถูกควบคุมและปกปิดโดยหน้ากาก หรือเก็บกดไว้ในจิตใต้สำนึก

(2) ลักษณะบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จากโครงสร้างทางบุคลิกภาพที่จุงได้อธิบายไว้ จุง จึงแบ่งลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลไว้ 2 ประเภทคือ
ก. แบบเก็บตัว (Introvert) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่มีแน้วโน้มเป็นพวกเก็บตัว ชอบความสงบเงียบไม่ชอบการเข้าสังคม ขี้อาย พอใจที่จะอยู่เบื้องหลัง ขาดความมั่นใจในตนเอง ชอบใช้วิธีหนีปัญหามากกว่าเผชิญปัญหา ส่วนดีของบุคลิกภาพแบบเก็บตัวนี้มักจะเป็นบุคลิกของ นักประดิษฐ์และนักคิดค้นทั้งหลาย แต่ส่วนเสียมักจะเกิดอาการซึมเศร้า แยกตัว และไม่สนใจสังคม
ข. แบบแสดงตัว (Extrovert) เป็นบุคลิกภาพประเภทแสดงตัว ชอบเข้าสังคมรักความสนุกสนาน ชอบการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าที่จะแสดงออก ชอบความเป็นผู้นำต้องการเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คบคนง่าย ชอบเผชิญปัญหามากกว่าการหนีปัญหาอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงจะพบว่าคนบางคนจะมีบุคลิกภาพแบบกลางๆ กล่าวคือ มักจะมีบุคลิกภาพเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์หนึ่งอาจมีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ในอีกสถานการณ์หนึ่งอาจเป็นแบบเก็บตัวก็ได้ จุงจัดคนประเภทนี้อยู่ในพวกแอมบิเวิร์ต




อ้างอิง

Rjaantick.ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล กุสตาฟ จุง (ออนไลน์).สืบค้นจาก :http://www.bloggang.com/mainblog.php?
     id=rjaantick&month=23-01-2011&group=7&gblog=3 (19 มกราคม 2559)