ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism)
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว(neutral-passive)การกระทำต่าง ๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อมความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียนพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus-response)การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมาก
เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดคือทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ
(Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย4 ทฤษฏี ดังนี้
ผู้นำที่สำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
ที่มา : http://www.slideshare.net/luebk/classical-conditioning-13484836 (18 มกราคม 2559)
1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ(Pavlov’s
Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s
Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s
Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว
ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s
Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ
ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน
อ้างอิง
Niramon Matpumee. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (ออนไลน์).สืบค้นจาก:http://niramon2244.blogspot.com
/2015/07/behaviorism.html.
(18 มกราคม 2559)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น