ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
ที่มา :https://sites.google.com/site/wingsswagger/3-thvsdi-thangkar-phyabal-sukhphaph-cit/3-1-thvsdi-cit-wikheraah-samphanthphaph-rahwang-bukhkhl-laea- cit-sangkhm (18 มกราคม 2559)
เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ1856
และเสียชีวิตเมื่อวันที 23 กันยายน ค.ศ. 1939เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางด้านการพัฒนา Psychosexual
ฟรอยด์เชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณติดตัวมาแต่กำเนิด
พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงจูงใจหรือแรงขับพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลมีพฤติกรรม
คือ สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) 2 ลักษณะคือ
1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต
2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย
1.สัญชาตญาณเพื่อการดำรงชีวิต
2.สัญชาตญาณเพื่อความตาย
โครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย
อิด (Id) อีโก้ (Ego) และซูเปอร์อีโก้
(Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1. อิด ( Id ) จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ
และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด Id ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ
( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ ความสุข
ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id
จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle)
2. อีโก้ ( Ego ) จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน
อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ
(Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล
มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา
บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม
จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม
บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
ดังนั้นการทำงานของอิดกับซุปเปอร์อีโก้จะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่าง
ส่วนอีโก้ทำหน้าที่ประสานการทำงานของระบบทั้งหมด แต่หากการทำงานของ3 ระบบนี้ไม่ประสานกัน จะทำให้เกิดปัญหาบุคลิกภาพหรือปัญหาชีวิตขึ้นมา
การพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นปาก (Oral Stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1
ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก
การได้รับการกระตุ้น หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ
ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา
2. ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal Stage) เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous
Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร
โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น
หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง
เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย
กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ
การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet) Training ดังนั้น
ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
3. ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage) เริ่มตั้งแต่
3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ
โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ
เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก
จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา
เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่
4. ขั้นแฝง (Latency Stage) เริ่มตั้งแต่ อายุ 6
- 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ
เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ
และจินตนาการทางเพศ
5. ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage) เริ่มจาก
12 ขวบเป็นต้นไป ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น
ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ
(Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ
กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์
้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง
ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ
ฟรอยด์เชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพจะไม่มีอีกต่อไปเมื่ออายุประมาณ
20 ปี หรือถ้าหากมีจะพัฒนาน้อยมาก
และขั้นของพัฒนาการที่สำคัญที่สุดคือ ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2
และขั้นที่3
อ้างอิง
อ้างอิง
นงลักษณ์ อาภัย,อรสา แซ่เจียว ,นางสาว ธิดารัตน์
แก้วโมรา.ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
(ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://cmruzone.blogspot.com/2011/01/sigmund-freud.html.
(18 มกราคม 2559)
(ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://cmruzone.blogspot.com/2011/01/sigmund-freud.html.
(18 มกราคม 2559)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น