แฮรี สแต็ค ซัลลิแวน (Harry Stack
Sullivan) ซัลลิแวน เกิดเมื่อวันที่
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ.
1892
ที่มลรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1949 ที่กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์
จากวิทยาลัยทางการแพทย์ของชิคาโก ได้เข้าเป็นแพทย์ทหารในสงครามโลกครั้งที่
2 เมื่อสงครามยุติลงเขาได้รับราชการเป็นแพทย์ในสถาบันต่างๆ
ต่อมาได้ทำงานในคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เขาได้ศึกษาโรคจิตเภทที่มีมากในขณะนั้น
แฮรี สแต็ค ซัลลิแวน
ซัลลิแวน เป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักกล่าวสุนทรพจน์ทางด้านจิตเวช
เป็นผู้นำในการฝึกฝนจิตแพทย์ในด้านบุคลิกภาพ เขาได้เริ่มตั้งทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929 และสำเร็จในกลางปี ค.ศ. 1930 ตลอดชีวิตของซัลลิแวนได้มีผลงานการเขียนเพียงเล่มเดียว
คือ ทฤษฎีบุคลิกภาพในปี
1947
โครงสร้างบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
ซัลลิแวน เห็นว่าพันธุกรรมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานความเจริญเติบโตและต้องมีความสมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมซึ่งได้แก่
บุคคล สภาพการณ์ต่างๆ มนุษย์ต้องเรียนรู้การอยูร่วมกัน ทำงานร่วมกัน
และจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระบบ เขาได้อธิบายว่าพฤติกรรมของบุคคลที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากการทำงานประสานกันของระบบทั้ง
3 คือ การแปรผัน (Dynamism) กระบวนการของพฤติกรรม (Patterm) และการแปรผันพลังจิต
(Dynamism of Psychiatry) ซึ่งทำให้เกิดความเครียด (Tension) บุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่ตนเคยรับรู้ ทำให้เกิดการผ่อนคลาย (Euphoria) นอกจากนี้ความเครียดของบุคคลอาจเกิดจากความต้องการ
(Need) ซึ่งไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้เสียสมดุลของชีวิต
หรือความเครียดอาจเกิดจากความกังวล (Anxiety) ที่บุคคลไม่รู้สึกอบอุ่นหรือมั่นคงในเรื่องของความรักระบบตน (Self
System) พ่อแม่จะเป็นผู้ปรุงแต่งบุคลิกภาพเบื้องต้นให้แก่ทารกจนกว่าทารกจะรับรู้และสามารถสร้างภาพตนเองขึ้นมาได้ว่า
“ฉันดี” (Good Me) “ฉันเลว”
(Bad Me) และ “ไม่ใช่ฉัน” (Not
Me) โดยที่ทารกจะได้รับประสบการณ์ 3 ด้าน ดังนี้
1) ประสบการณ์ที่ได้รับคำชมเชย
2) ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลทีละน้อยสะสม
3) ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความวิตกกังวลรุนแรงเฉียบพลัน
ซัลลิแวน ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ของทารกที่มีต่อพ่อแม่ว่าเป็นรากฐานในการแปรผันพลัง
(Dynamism) ในวัยต่อมา ทารกสามารถสร้างความอบอุ่นมั่นคงแก่ตนเองได้
เมื่อพบเหตุการณ์ไม่ต้องการ และในการสร้างภาพตนเองเกิดจากประสบการณ์ดังนี้
1.ภาพตนเองที่ว่า “ฉันดี”
(Good Me Self) จะเกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่
อ่อนโยน เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
เป็นห่วงเป็นใยซึ่งทารกจะเกิดความพึงพอใจ
2. ภาพตนเองที่ว่า “ฉันเลว” (Bad Me Self) เกิดจากประสบการณ์ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง
ไม่ดูแล ไม่ตอบสนองความต้องการของทารก
ทำให้ทารกเกิดความไม่พอใจเกิดความวิตกกังวล
3. ภาพ “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน” เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง
3. ภาพ “ไม่ใช่ฉัน” (Not Me) เกิดจากการที่ทารกได้รับประสบการณ์ในลักษณะขู่เข็ญหรือเกิดความหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง และแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน” เพราะเป็นสิ่งที่ทารกไม่ต้องการรับรู้อย่างยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น