วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์ (Transactional Analysis – TA)

ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์  (Transactional Analysis – TA)
อีริค เบิร์น(Eric Berne) เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1910 ที่เมืองมอนทรีอัล คิวเบค ประเทศแคนนาดา เดิมชื่อว่า เลนนาร์ด เบิร์นสไตลน์ พ่อของเบิร์น เดวิด ฮิลเลอร์ เบิร์นสไตน์ เป็นหมอ ส่วนแม่ของเบิร์น ซารา กอร์ดอน เบิร์นสไตน์ มีอาชีพเป็นนักเขียน เบิร์น มีพี่น้องคนเดียวคือ เกรซ น้องสาวซึ่งมีอายุน้อยกว่าเขา 5 ปี พ่อแม่ของเบิร์นอพยพมาจากรัสเซียและโปแลนด์. 
      ทั้งพ่อและแม่ของเบิร์น จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์, อีริค ซึ่งสนิทกับพ่อของเขามาก, ได้เล่าถึงการเป็นผู้ช่วยพ่อดูรักษาผู้ป่วย. คุณหมอเบิร์นสไตน์เสียชีวิตด้วยวัณโรคด้วยวัย 38 ปี. แม่ของเบิร์นของเสาหลักของครอบครัวหลังพ่อเขาเสียชีวิต เธอสนับสนุนให้เบิร์นเรียนด้านแพทย์เพื่อดำเนินรอยตามคุณหมอเบิร์นสไตน์พ่อของเบิร์น. เบิร์น จบแพทยศาสตร์ และศัลยศาสตร์จากวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ ในปี 1935

อีริค เบิร์น
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psychologist&date=17-11-2006
โครงสร้างบุคลิกภาพ

            ปกติแล้วในตัวคนๆ หนึ่งจะประกอบด้วยลักษณะการแสดงออก 3 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ (Parent ego state) ส่วนที่มีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่ (Adult ego state) และส่วนที่มีลักษณะคล้ายเด็ก (Child ego state) แต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และในแต่ละสถานการณ์ บางทีอาจแสดงออกเป็นผู้ใหญ่ บางทีอาจแสดงออกเป็นเด็ก ซึ่งเราจะสามารถสังเกตและวิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมการแสดงออกทั้งทางวาจา สีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวทางกายต่างๆ

               สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent ego state “P”)
แน่นอนที่ว่าลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้เราจะได้รับถ่ายทอดจากพ่อ แม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเรามา ดังนั้นจึงเป็นการแสดงพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กในปกครอง เป็นลักษณะการประเมินคุณค่า ตัดสินใจต่างๆ โดยใช้มาตรฐานทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมของคนอื่น และบางครั้งก็จะมีอคติในการประเมินอันเนื่องจากความเชื่อผิดๆ หรือใช้ประสบการณ์เดิมของตนเข้ามาตัดสิน
              สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult ego state “A”)
เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพในสภาวะความเป็นผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง แยกแยะปัญหา ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนพิจารณาตัดสินใจใด ๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมโดยหลักของเหตุผลไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จำแนกความเป็นจริงออกจากความคิดเห็น ความเพ้อฝัน ความรู้สึกหรือขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างเหมาะสม มักจะตรวจสอบสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำถามว่า อะไรทำไมอย่างไรที่ไหนเมื่อไร” อยู่เสมอ
เราสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น ท่าทางตั้งใจ สนใจ รับข้อมูลต่างๆท่าทางเอาใจใส่ มุ่งมั่นในการทำงาน

             สภาวะความเป็นเด็ก (Child ego state “C”)
จะเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงถึงความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของคน เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของเด็กในวัย 0 – 7 ปี ที่แสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กับตนเอง และแสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทันทีทันใด เป็นการเปิดเผยอารมณ์ ความรู้สึกในสถานการณ์ต่างๆ ตามที่อยากจะเป็น เช่น ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ มีความสุข โกรธ อาย กลัว อิจฉา ไม่พอใจ ไม่กล้าแสดงออก เห็นแก่ตัว ไวต่อการรับรู้ นอกจากนั้นเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ขัดเกลาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้รู้จักไตร่ตรองยอมรับฟัง ยอมทำตาม เชื่อฟัง ชอบพึ่งพาผู้อื่น ไม่กล้าตัดสินใจ
สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก อย่างเช่น กระทืบเท้า ร้องไห้ ขว้างปาสิ่งของ ตบมือ กระโดดโลดเต้น แสดงอาการดีใจ กริยายอมจำนน ยอมตาม ปฏิบัติตามคำสั่ง อาการเหงา หลบมุม หรือแม้กระทั่งการตกแต่งรถติดสติคเกอร์ ประดับรถด้วยรูปภาพ และถ้อยคำต่างๆ

                 ทัศนะในชีวิต (Life Position)
ในบรรดาประสบการณ์ทั้งหลายซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรานั้น ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าความคิดเห็นเบื้องต้นที่เรามีต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ความคิดเห็นเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากความใส่ใจที่เราได้รับ และความใส่ใจที่เราเรียนรู้ที่จะให้แก่ผู้อื่น (อ่านรายละเอียดในบทความเรื่องความเอาใจใส่/เกมชีวิตและบทบาทชีวิต) ความคิดเห็นดังกล่าวนี้มีอิทธิพลยิ่งกว่าความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปที่เราจะมีในระยะต่อมา ทัศนะในชีวิตแบ่งเป็น 4 ทัศนะ คือ

             “I’m not OK – You’re OK” เป็นทัศนะที่ดูเหมือนว่าเป็นปกติธรรมดามาก เรามักจะมีทัศนะนี้ด้วยการบันทึกคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยินเกี่ยวกับตัวเองซึ่งทำให้รู้สึกท้อแท้และต่ำต้อย คำพูดเช่นว่านี้ได้แก่ เธอน่ะโง่” “เธอน่ะขี้เกียจ” หรือ ลูกน่ะไม่เคยทำอะไรถูกเลย” ทัศนะเหล่านี้ถูกสนับสนุนว่าเป็นจริงด้วยวิธีการที่คนอื่น ๆ ปฏิบัติต่อเราด้วย เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลลงในเทปที่เราบันทึกไว้ เรา ๆ ก็จะสรุปว่า ฉันโง่” “ฉันขี้เกียจ” หรือ ฉันไม่เคยทำอะไรถูกเลย” และถ้าเรามิได้เป็นเช่นนี้มาก่อนอีกไม่นานก็จะกลายเป็นเช่นนี้ได้ในที่สุด

                “I’m not OK – You’re not OK” เป็นทัศนะที่ไม่มีใครดีเลยสักคนเดียวในโลกนี้แม้แต่ตนเอง ทัศนะนี้มักจะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กโดยการที่ถูกลืมจากคนจากบุคคลรอบข้าง ไม่เคยได้รับความเอาใจใส่หรือสนใจจากผู้ใด และจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้งดำเนินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเหตุให้สรุปได้เลยว่า คนอื่น ๆ นั้นไม่ดี (You’re not OK) เพราะคนเหล่านั้นไม่ให้การใส่ใจแก่เขา และตัวเขาก็ไม่ดีด้วย (I’m not OK) ทัศนะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพราะว่าชีวิตนี้ไม่มีค่า มีแต่ความเลวร้ายจนไม่อาจจะทนอยู่ในสภาพเหล่านี้ได้อีกต่อไป

              “I’m OK – You’re OK” เป็นทัศนะเดียวเท่านั้นที่มีลักษณะสร้างสรรค์ บุคคลจะมีทัศนะนี้โดยอัตโนมัติถ้าเขาเจริญเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เขาได้รับการใส่ใจทางบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใส่ใจอย่างมีเงื่อนไขเพื่อความเจริญงอกงามไปตามขั้นตอนตามพัฒนาการของเขา บุคคลเหล่านี้จะเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็เห็นคุณค่าของผู้อื่น พร้อมที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งภายในตนเองและกับผู้อื่น

             “I’m OK – You’re not OK”
ทัศนะนี้อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในชีวิตที่ถูกกระทบกระเทือน อาจเป็นทางด้านกายภาพและทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเปลี่ยนทัศนะเดิมที่เคยมีมาก่อนจาก “I’m OK – You’re OK” มาเป็น “I’m OK – You’re not OK” นักวิชาการชี้ว่าบุคคลที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายหรือกระทบกระเทือนจิตใจ และคนนั้นผ่านประสบการณ์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมาได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นรุนแรงหรือบ่อยครั้งจะทำให้คนมีความรู้สึกว่า ฉันจะเป็นคนดีถ้าปล่อยฉันไว้ตามลำพัง…” “ฉันเป็นคนดีได้ด้วยตัวของฉันเอง…”ดังนั้นคนผู้นี้จะมองคนอื่นด้อยกว่า ไม่ดีพอหรือไม่มีความสามารถพอ ทำให้กลายเป็นคนที่ไม่เชื่อใจ และไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น


อ้างอิง 

พระจันทร์รุ่งสาง.โครงสร้างบุคลิกภาพ(ออนไลน์).สืบค้นจาก :
     http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=psychologist&date=17-11-2006&group=2&gblog=1
     (19 มกราคม 2559)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น