ทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคลของแอดเลอร์ (Adler’s Individual Psychology)
อัลเฟรดแอดเลอร์ (Alfred Adler) เป็นนักจิตวิทยาเชื้อสายยิวในระยะเริ่มต้นนั้นแอดเลอร์ เคยทำงานร่วมกับกลุ่มจิตวิเคราะห์มาระยะหนึ่ง แต่ภายหลังมีความคิดเห็นคัดค้านแนวคิดของ ฟรอยด์ เช่น เกี่ยวกับความฝัน ตลอดจนวิธีการบำบัดผู้ป่วยตามแนวทางของจิตวิเคราะห์ ทำให้แยกตัวมาตั้งทฤษฎีใหม่ และเรียกกลุ่มตนเองว่าทฤษฎีจิตวิทยารายบุคคลทั้งนี้เนื่องจากมีความเชื่อว่าการศึกษาบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ไม่ใช่เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่จะต้องศึกษาพฤติกรรมทั้งหมดที่บุคคลนั้นแสดงต่อสถานการณ์หรือรูปแบบของ พฤติกรรมที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ในสังคม ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคล และผลจากการศึกษา
อัลเฟรดแอดเลอร์ (Alfred Adler)
แอดเลอร์ทำให้ได้ข้อสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกของบุคคลไว้
3 ประการ ดังนี้
(1) ลำดับการเกิดของเด็กในครอบครัว (Order of Birth)
แอดเลอร์ให้ความสำคัญต่อสังคมระดับครอบครัวเป็นอันดับแรก โดยสังเกตจากบุคลิกภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง ซึ่งจะแตกต่างกันไปอย่างเห็นได้เด่นชัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นเพราะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่แตกต่างกันไป ซึ่งได้สรุปไว้ดังนี้
ก. ลูกคนโต เป็นลูกคนแรกของครอบครัว ดังนั้นเด็กจะได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างมาก จนกระทั่งเมื่อมีน้องใหม่เกิดขึ้นเด็กจะมีความรู้สึกว่าความรักที่เคยได้รับจะถูกแบ่งปันไปให้น้องที่มาใหม่ ประสบการณ์เช่นนี้จะทำให้เด็กมีบุคลิกภาพประเภทขี้อิจฉาและเกียดชังผู้อื่นรู้สึกไม่มั่นคง พยายามปกป้องตนเอง ดังนั้นถ้าพ่อแม่สามารถที่จะเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโตเพื่อรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดได้ล่วงหน้าแล้ว จะทำให้ลูกคนโตมีบุคลิกภาพพัฒนาไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ เช่น มีความรับผิดชอบสูง เชื่อมั่นในตนเอง ชอบช่วยเหลือปกป้อง คุ้มครองผู้อื่นที่ด้อยกว่า
ข. ลูกคนกลาง มักจะเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความอุตสาหะพยายาม อดทน แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นคนดื้อรั้น และในส่วนลึกจะมีความรู้สึกอิจฉา พี่น้องของตนจึงพยายามจะเอาชนะหรือแสดงความสามารถที่เหนือกว่าพี่และน้องออกมา ทั้งนี้เนื่องจากคิดว่าพ่อแม่จะรักพี่คนโตและน้องคนสุดท้องมากกว่าตน แต่โดยทั่วไปแล้วลูกคนกลางมักจะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าพี่และน้อง
ค. ลูกคนสุดท้อง เนื่องจากเป็นลูกคนเล็กจึงมักได้รับการตามใจประคบประหงมและได้รับความช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือพี่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เด็กที่เป็นลูกคนสุดท้องจึงมีลักษณะเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง ชอบขอความช่วยเหลือผู้อื่น ไม่รู้จักโต
(2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก (Chilhood Experience) หมายถึง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการอบรมเลี้ยงดูในระยะแรกของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซึ่งแอดเลอร์ได้ให้ความสนใจประสบการณ์เหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพเป็น อย่างยิ่ง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
ก. เด็กที่เลี้ยงดูแบบตามใจ (Spoiled Child) แอดเลอร์เห็นว่าการตามใจลูกหรือทะนุถนอมลูกจนเกินไปจะทำให้เด็กเสียคน ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้ ขาดเหตุผล เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว เรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการจากสังคมเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เคยคิดจะตอบแทนผู้อื่นหรือสังคมเลย
ข. เด็กที่ถูกทอดทิ้ง (Neglected Child) หมายถึง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ เนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิต แยกทางกัน หรือเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงถูกทอดทิ้งเพราะพ่อแม่เกลียดชังไม่ต้องการลูก เด็กที่อยู่ในสภาพเช่นนี้จะรู้สึกเกลียดชังพ่อแม่ตนเองและคนรอบข้าง ทำให้มีบุคลิกภาพเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นทุกคนเป็น ศัตรูกับตน เป็นพวกต่อต้านและแก้แค้นสังคม ชอบข่มขู่วางอำนาจ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
ค. เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างสมบูรณ์ (Warm Child) หรือเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับลูก เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ดีเช่นนี้จะทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีจิตใจ และความคิดเป็นประชาธิปไตย มองโลกในแง่ดี ร่าเริง แจ่มใส และเอาใจใส่ผู้อื่น ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคม
(3) ความรู้สึกว่ามีปมด้อยและสร้างปมเด่นชดเชย (Inforiority Feeling and Compensation) แอดเลอร์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีปมด้อย ซึ่งในระยะแรกจากการสังเกตผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาในคลินิกของแอดเลอร์ พบว่าในวัยเด็กคนไข้เหล่านี้มักมีความบกพร่องทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาจึงพบว่านอกจากสภาพร่างกายที่เป็นปมด้อยแล้ว ยังเป็นผลมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับจากสังคม ปัจจัยเหล่านี้จะกลายเป็นปมด้อยของแต่ละคนก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบุคคลอื่นแล้วมีการเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา สภาพทางร่างกาย ความสามารถ สถานภาพทางสังคม ฐานะความเป็นอยู่ การยอมรับ ซึ่งปกติโดยทั่วไปแล้วแต่ละคนมักจะมองเห็นว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นไม่สมบูรณ์ สู้คนอื่นไม่ได้ หรือเป็นปมด้อยเสมอ และความรู้สึกว่าเป็นปมด้อยนี้เองทำให้เกิดเป็นแรงผลักดันในการที่จะดิ้นรนเพื่อเอาชนะปมด้อยของตน โดยการสร้างปมเด่น (Superiority Complex) ขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดรู้สึกมั่นใจภูมิใจ พึงพอใจ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้งหลายในสังคม
(1) ลำดับการเกิดของเด็กในครอบครัว (Order of Birth)
แอดเลอร์ให้ความสำคัญต่อสังคมระดับครอบครัวเป็นอันดับแรก โดยสังเกตจากบุคลิกภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง ซึ่งจะแตกต่างกันไปอย่างเห็นได้เด่นชัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นเพราะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่แตกต่างกันไป ซึ่งได้สรุปไว้ดังนี้
ก. ลูกคนโต เป็นลูกคนแรกของครอบครัว ดังนั้นเด็กจะได้รับความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างมาก จนกระทั่งเมื่อมีน้องใหม่เกิดขึ้นเด็กจะมีความรู้สึกว่าความรักที่เคยได้รับจะถูกแบ่งปันไปให้น้องที่มาใหม่ ประสบการณ์เช่นนี้จะทำให้เด็กมีบุคลิกภาพประเภทขี้อิจฉาและเกียดชังผู้อื่นรู้สึกไม่มั่นคง พยายามปกป้องตนเอง ดังนั้นถ้าพ่อแม่สามารถที่จะเตรียมความพร้อมให้ลูกคนโตเพื่อรับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดได้ล่วงหน้าแล้ว จะทำให้ลูกคนโตมีบุคลิกภาพพัฒนาไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ เช่น มีความรับผิดชอบสูง เชื่อมั่นในตนเอง ชอบช่วยเหลือปกป้อง คุ้มครองผู้อื่นที่ด้อยกว่า
ข. ลูกคนกลาง มักจะเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง มีความอุตสาหะพยายาม อดทน แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นคนดื้อรั้น และในส่วนลึกจะมีความรู้สึกอิจฉา พี่น้องของตนจึงพยายามจะเอาชนะหรือแสดงความสามารถที่เหนือกว่าพี่และน้องออกมา ทั้งนี้เนื่องจากคิดว่าพ่อแม่จะรักพี่คนโตและน้องคนสุดท้องมากกว่าตน แต่โดยทั่วไปแล้วลูกคนกลางมักจะมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าพี่และน้อง
ค. ลูกคนสุดท้อง เนื่องจากเป็นลูกคนเล็กจึงมักได้รับการตามใจประคบประหงมและได้รับความช่วยเหลือจากพ่อแม่หรือพี่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เด็กที่เป็นลูกคนสุดท้องจึงมีลักษณะเป็นคนเอาแต่ใจตนเอง ชอบขอความช่วยเหลือผู้อื่น ไม่รู้จักโต
(2) ประสบการณ์ในวัยเด็ก (Chilhood Experience) หมายถึง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการอบรมเลี้ยงดูในระยะแรกของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซึ่งแอดเลอร์ได้ให้ความสนใจประสบการณ์เหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพเป็น อย่างยิ่ง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ
ก. เด็กที่เลี้ยงดูแบบตามใจ (Spoiled Child) แอดเลอร์เห็นว่าการตามใจลูกหรือทะนุถนอมลูกจนเกินไปจะทำให้เด็กเสียคน ไม่สามารถจะพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้ ขาดเหตุผล เอาแต่ใจตนเอง เห็นแก่ตัว เรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการจากสังคมเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เคยคิดจะตอบแทนผู้อื่นหรือสังคมเลย
ข. เด็กที่ถูกทอดทิ้ง (Neglected Child) หมายถึง เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย ขาดความเอาใจใส่ เนื่องจากพ่อแม่เสียชีวิต แยกทางกัน หรือเกิดจากปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงถูกทอดทิ้งเพราะพ่อแม่เกลียดชังไม่ต้องการลูก เด็กที่อยู่ในสภาพเช่นนี้จะรู้สึกเกลียดชังพ่อแม่ตนเองและคนรอบข้าง ทำให้มีบุคลิกภาพเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย เห็นทุกคนเป็น ศัตรูกับตน เป็นพวกต่อต้านและแก้แค้นสังคม ชอบข่มขู่วางอำนาจ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
ค. เด็กที่ได้รับความรักความอบอุ่นอย่างสมบูรณ์ (Warm Child) หรือเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับลูก เด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ดีเช่นนี้จะทำให้เป็นคนที่มีเหตุผล กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ มีจิตใจ และความคิดเป็นประชาธิปไตย มองโลกในแง่ดี ร่าเริง แจ่มใส และเอาใจใส่ผู้อื่น ซึ่งเป็นบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของสังคม
(3) ความรู้สึกว่ามีปมด้อยและสร้างปมเด่นชดเชย (Inforiority Feeling and Compensation) แอดเลอร์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีปมด้อย ซึ่งในระยะแรกจากการสังเกตผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาในคลินิกของแอดเลอร์ พบว่าในวัยเด็กคนไข้เหล่านี้มักมีความบกพร่องทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาจึงพบว่านอกจากสภาพร่างกายที่เป็นปมด้อยแล้ว ยังเป็นผลมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับจากสังคม ปัจจัยเหล่านี้จะกลายเป็นปมด้อยของแต่ละคนก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับบุคคลอื่นแล้วมีการเปรียบเทียบซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา สภาพทางร่างกาย ความสามารถ สถานภาพทางสังคม ฐานะความเป็นอยู่ การยอมรับ ซึ่งปกติโดยทั่วไปแล้วแต่ละคนมักจะมองเห็นว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นไม่สมบูรณ์ สู้คนอื่นไม่ได้ หรือเป็นปมด้อยเสมอ และความรู้สึกว่าเป็นปมด้อยนี้เองทำให้เกิดเป็นแรงผลักดันในการที่จะดิ้นรนเพื่อเอาชนะปมด้อยของตน โดยการสร้างปมเด่น (Superiority Complex) ขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดรู้สึกมั่นใจภูมิใจ พึงพอใจ และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั้งหลายในสังคม
อ้างอิง
Rjaantick.ทฤษฎีบุคคลของแอดเลอร์(ออนไลน์).http://www.bloggang.com/mainblog.php?
id=rjaantick&month=23-01-2011&group=7&gblog=3 (18 มกราคม 2559)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น